วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สวนผักยายปาว ผักปลอดสาร มาตรฐาน GAP บ้านหนองหญ้าข้าวนก และ บ้านสวนเบญจมงคล มินิฟาร์ม

สวนผักยายปาว ผักปลอดสาร มาตรฐาน GAP บ้านหนองหญ้าข้าวนก และ บ้านสวนเบญจมงคล มินิฟาร์ม

 



วันอังคาร ที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ สวนผักยายปาว ผักปลอดสาร มาตรฐาน GAP บ้านหนองหญ้าข้าวนก ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น คณะอาจารย์ และ นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงพื้นที่ในการศึกษาดูงานของคณะนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น




ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นางคำปาว คะสุวรรณ์ เกษตรกรผู้ริเริ่มปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน


โดย นางคำปาว คะสุวรรณ์ เกษตรกรผู้ริเริ่มปลูกผักปลอดสารในครัวเรือน ได้ให้ข้อมูลว่า สวนผักยายปาว เริ่มต้นจากการที่ยายปาวชอบปลูกผัก ไว้กินในครอบครัวเหลือกินก็ขายในตลาดชุมชน ลูกสาวกับลูกเขยมองว่ามันสามารถสร้างเป็นอาชีพหลักได้ จึงเริ่มปรึกษากันว่าเราจะปลูกผักทั้งปียังไง เพื่อสามารถขายได้ตลอดทั้งปี เพราะผักจากสวนผักยายปาวเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า เพราะผักกรอบ หวาน อร่อย ในปี 2561 ลูกเขยกับลูกสาวจึงได้ติดต่อหาตลาดเพื่อขายผักที่ ห้างสรรพสินค้าเทคโก้โลตัส พร้อมทั้งขอใบรับรองมาตรฐานผัก GAP จาก สวพ 3 จึงเริ่มมีการส่งผักให้กับทางห้างสรรพสินค้า เทสโก้โลตัส และหลังจากนั้น ห้างTops Supermaket ได้เปิดตลาดจริงใจ ใน เซ็นทรัลขอนแก่น จึงสมัครขอเข้าร่วมโครงการขายสินค้ากับ ตลาดจริงใจ ในปี 2562 และทำการขายตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา
















เวลา 10.00 น. ณ กลุ่มปลูกผักปลอดสาร บ้านหนองหญ้าข้าวนก ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น คณะอาจารย์ และ นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงพื้นที่ในการศึกษาดูงานของคณะนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  










  กลุ่มปลูกผักปลอดสารได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2558 กลางเดือน พฤษภาคม โดยการได้งบประมาณระบบน้ำจากศูนย์มีชัย และ คณะของ ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล โดยมี 1. แท่งกักเก็บน้ำและท่อวางตามจุดแปลงเพื่อเก็บน้ำรายคน 2. ชาวบ้านก็ช่วยกันในการวางแปลนผัก การวางท่อน้ำ นำทีมโดย แม่ทองม้วน วิรักษา และได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จาก พ่อบัวลา วิรักษา และใช้แรงงานจากชาวบ้านช่วยกัน 3. หลังจากมีระบบน้ำมาชาวบ้านที่สนใจปลูกผักก็มาลงชื่อ เพื่อใช้ในการบริหารจัดสรรพื้นที่เพาะปลูก มีชาวบ้านลงชื่อจำนวน ประมาณ 40 คน และเริ่มต้นลงมือเพาะปลูกทำแปลงผักในช่วงปลายเดือน ตุลาคม 2558 หลังจากนั้นด้วยความแห้งแล้ง และดินใหม่ที่ยังไม่มีแร่ธาตุในดินที่เหมาะสำหรับเพาะปลูกจึงทำให้หลายๆคนท้อถอย ไปเหลือสมาชิกที่ยังสู้และหาแนวทางเพื่อทำให้พืชผักโตได้อยู่ ประมาณ 30 คน โดยการใช้ดินด้านนอกมาถมเพื่อปรับปรุงดิน ปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูก ใส่แกลบ ใส่ปุ๋ยคอกหลังจากนั้นชาวบ้านก็ใช้พื้นที่ในการปลูกผักในช่วงปลายฝนจนกระทั้งสิ้นสุดหน้าหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศเหมาะสำหรับการปลูกผัก ดูแลง่าย โตเร็ว หรือการใช้เวลาหลังการเก็บเกี่ยวจากการทำนานั้นเอง ต่อมาได้งบสนับสนุนจากทางด้าน อบต หนองแวงในเรื่องอุปกรณ์เพาะปลูก เมล็ดพันธ์พืช แต่ทางกลุ่มผู้ปลูกผักเห็นสมควรใช้งบนั้นมาใช้ในการปรับปรุงเส้นทางการเดินทางมาสวน โดยการเทพื้นด้วยหินลูกรัง ชาวบ้านจะใช้พื้นที่เพาะปลูกเฉพาะช่วงปลายเดือน ตุลาคม จบถึง สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปีในการเพาะปลูก
เมื่อช่วงเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2561 นายประสิทธิ์ พันธ์โบว์ได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มนาแปลงใหญ่ที่ หอประชุมอำเภอพระยืน ในการประชุมวันนั้นมี ผจข โลตัส คุณเปรม มาพูดถึงความต้องการผักของ เทสโก้โลตัส หลังจากประชุมเสร็จ คนที่มีความสนใจ แต่คิดว่าตนเองทำไม่ได้ ปัญหาคือ 1 หน้าฝนผักจะโตไหม 2 หน้าร้อน จะทำได้ไหม นายประสิทธิ์ จึงปรึกษากับครอบครัวว่ามีความสนใจและจะทำเป็นแนวทางให้ชาวบ้าน ถ้าเราทำสำเร็จ ชาวบ้านถึงจะกล้าทำตาม จึงได้ศึกษาแนวทาง และติดต่อไปทาง คุณเปรมและเข้าไปติดต่อขอเป็นเครือข่ายกับ บ้านโนนเขวาซึ่งเป็นศูนย์แพ็คและส่งผักให้กลับ เทสโก้โลตัสได้รับออเดอร์ ผักคะน้ามาทดลอง 100 กิโลกรัม ในราคา กิโลกรัมละ 16 บาท นายประสิทธิและครอบครัวจึงได้เริ่มต้นการทำโรงเรือน ปรุงดิน เพื่อปลูก หลังจากผักโต ไปติดต่อขอตรวจมาตรฐานผัก GAP กับทาง สวพ ขอนแก่น ผลออกมาว่าผักเราได้มาตรฐาน จึงสามารถตัดผักส่งทางเทสโกโลตัสได้และต่อมาได้พูดคุยกับทางการตลาดของโลตัสเรื่อง การให้ออเดอร์ผัก และชนิดผัก พอได้ออเดอร์ มานายประสิทธิได้ปรึกษากับครอบครัวถ้าออเดอร์เยอะเราทำไม่ไหว เราต้องรวมกลุ่ม ได้ปรึกษาแม่ทองม้วน วิรักษา ว่าอยากเชิญชวนชาวบ้านปลูกผักเพื่อส่ง เทสโก้โลตัส จึงได้นัดประชุมกันว่าใครสนใจและได้เชิญทางการตลาดมาพูดคุยกับชาวบ้าน ถึงแนวทางและวิธีการต่างๆเริ่มส่งผักในนามกลุ่มครั้งแรก 9 กรกฏาคม 2561 และทำต่อมาจนปัจจุบันมีการเติบโตเรื่อยๆ และได้จดวิสาหกิจกลุ่มปลูกผักปลอดสารขึ้นเมื่อปี 2562 จึงเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ของนักศึกษา มหาวิยาลัยขอนแก่น เป็นที่รวมตัวของชาวสวนแลกเปลี่ยนความรู้กัน ช่วยเหลือกัน ภายในกลุ่ม ใครมีธุระเพื่อนก็จะช่วยกันดูแลให้ ตัดผักขายให้กันได้ก่อให้เกิดรายได้และความสามัคคีของคนในชุมชม ใน 1 ปีที่ผ่านมาเราได้ส่งผัก จำนวน 8,900กิโลกรัม และมีรายได้เข้าสู่ชุมชนประมาณ 380,000 บาท


























จากนั้น เวลา 13.00 น. คณะอาจารย์ และ นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงพื้นที่ในการศึกษาดูงานบ้านสวนเบญจมงคล มินิฟาร์ม  บ้านหนองหญ้าข้าวนก ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน  จังหวัดขอนแก่น













         โดย คุณเบญจวรรณ รัตนพลที เจ้าของบ้านสวนเบญจมงคล มินิฟาร์ม จากพนักงานบริษัท สู่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรกร สวนเบญจมงคล มินิฟาร์ม ปลุกไผ่อินทรีย์  ที่ใบรับรองมาตรฐาน อินทรีย์ ออแกนิค ไทยแลนด์  เนื่องจากในพื้นที่อำเภอพระยืน เป็นพื้นที่ดินเสื่อมโทรม ถ้าปลูกพืชชนิดอื่นอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทางสวนจึงเลือกปลูกเป็นไผ่กิมซุง  หรือไผ่ตงลืมแล้ง เพราะออกหน่อได้ตลอดทั้งปี   ทั้งนี้ยังได้ผลิตน้ำหมักจากธรรมชาติไว้ใช้เอง  และยังได้มีการนำพลังงานโซล่าเซลล์มาใช้ในการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนอีกด้วย 




















 
 สวนสัตว์ขอนแก่น
  แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


นมคิดดี
นมดีที่คุณแม่รอคอย

อ.ส.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




“ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน #ร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่


ท่านสามารถติดตามรับฟังการรายงานสถานการณ์ข่าวสารต่างๆได้ ในรายการ

ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน จันทร์-ศุกร์.  เวลา 09.00 -10.00 น 
ที่สถานีวิทยุ smilefm101http://www.smilefm101.com  ความถี่ FM 101 mHz ขอนแก่น
และ Facebook #ร่วมด้วยช่วยชาวบ้านฮอตนิวส์ขอนแก่น


 ติตต่อลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
โทร  063-4715698, 043-047474

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น