วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ชมรมผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จัดประชุม ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การเรียนรู้ JAEC KHON KAEN THAILAND

ชมรมผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จัดประชุม ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การเรียนรู้ JAEC KHON KAEN THAILAND

       วันเสาร์ ที่ 18 มิถุนายน  2565 เวลา 09.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้ JAEC KHON KAEN THAILAND บ้านหนองแวง ตำบลหนองแวง อำเภอพะยืน จังหวัดขอนแก่น ชมรมผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จัดประชุมครั้งที่ 3 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สมาชิก และหารือเรื่องการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิกอย่างยั่งยืน โดยมี รศ.ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรเชิงระบบ  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง เปิดเผยว่า ชมรมได้ก่อตั้งเมื่อปลายปี 2564 ด้วยความร่วมมือของเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จาก 3 อำเภอ คือ 1. อ.บ้านฝาง นำโดย นายมนตรี กูดอั้ว ปลัดเทศบาลตำบลโนนฆ้อง 2. อ.ยางตลาด นำโดย นายฤกษ์ชัย ภูพานทอง แ และ 3. อ.พระยืน นำโดย อาจารย์สังวาลย์ สุนทอง หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ JAEC KHON KAEN THAILAND โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนเทคนิคการเลี้ยงการจัดการ, เพื่อรวมกลุ่มให้เข้มแข็งและขยายเครือข่าย, เพื่อแสวงหาตลาดและการจัดจำหน่ายที่เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิก 




รศ.ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรเชิงระบบ 
 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สังวาลย์ สุนทอง
หัวหน้า
ศูนย์การเรียนรู้ JAEC KHON KAEN THAILAND

 นายมนตรี กูดอั้ว
ปลัดเทศบาลตำบลโนนฆ้อง





            โดยในการประชุมครั้งนี้ได้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานและเทคนิคการเลี้ยงที่ได้ผลจากการศึกษาของเครือข่ายเอง อาหารและบ่อเลี้ยง รวมถึงการตลาด นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการทำให้หอยเซอรี่สีทองจำศีล เพื่อส่งไปให้ลูกค้าทั่วประเทศ รวมถึงการสาธิตการปรุงอาหารจากหอยเชอรี่สีทองหลากหลายเมนู รศ.ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "หอยเชอรี่สีทองเลี้ยงง่าย กินพืชผัก วัชพืชสีเขียว เช่น แหนแดง ผักโขม ใบของต้นผงชูรส มันสำปะหลัง ยอดกล้วย ผักก้านจอง และอื่นๆ ที่ลอยน้ำ ข้อดีของการเลี้ยงหอยเซอรี่สีทองคือแทบไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายจากการซื้ออาหาร การเพาะเลี้ยงมีทั้งการเลี้ยงในกระชังและบ่อดิน บ่อพลาสติก บ่อชีเมนต์ โอ่งยักษ์ ซึ่งแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกัน โดยจุดเด่นของเนื้อหอยเชอรี่สีทองคือมีเนื้อนุ่ม กรอบ อร่อย หวาน หัวไม่แข็ง ไม่มีเส้นเมา จึงสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย จากการศึกษาโดยสมาชิกพบว่า การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในแปลงนา ปรากฏว่าต้นข้าวไม่ถูกหอยเชอรี่สีทองกัดกิน แสดงให้เห็นว่าหอยเชอรี่สีทองไม่เป็นศัตรูกับต้นข้าวเหมือนหอยเชอรี่ตามธรรมชาติ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า หอยเซอรี่สีทองอายุ 3เดือนครึ่ง น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งจะมีหอยประมาณ 37 ถึง 40 ตัว เมื่อนำไปต้มให้สุกจะเหลือน้ำหนักรวม 7 ขีดครึ่ง และเมื่อแกะเนื้อออกมาจะได้น้ำหนักประมาณ 4 ขีด ส่วนเปลือกหอยที่เหลือน้ำหนักประมาณ 3 ขีด สามารถนำไปทุบให้ละเอียดไว้โรยใส่พืชผัก ต้นไม้ เป็นปุ๋ยแคลเซียม หรือนำไปเผาเป็นปุ๋ยในรูปผง หรือที่รู้จักกันในชื่อไคโตซาน โดยหอยเชอรี่สีทองไม่มีส่วนที่ต้องทิ้งให้เกิดมลพิษเลย ซึ่งการประชุมชมรมผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทองครั้งที่ 3 มีสมาชิกและผู้ที่สนใจเข้าร่วเป็นจำนวนมาก








































































      และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด - 19 (COVID-19) ได้มีการตรวจคัดกรอง วัดอุหภูมิก่อนเข้าร่วมงานด้วย

โดย : ศูนย์ข่าวร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน ฮอต นิวส์ ขอนแก่น 
ผู้สื่อข่าว : นางสาวชยาภัสร์  แสงมี, นางสาวพิกุลแก้ว สระใคร
เรียบเรียงโดย: นางสาวพิกุลแก้ว สระใคร

     
“ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน #ร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่


ท่านสามารถติดตามรับฟังการรายงานสถานการณ์ข่าวสารต่างๆได้ ในรายการ



 ติตต่อลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
โทร  063-4715698, 043-047474

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น