อบรมและฝึกปฏิบัติการเพิ่มมูลค่าหอยเชอรี่สีทอง ด้านการแปรรูปเป็นอาหาร |
วันพฤหัสบดี ที่ 18 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้หอยเชอรี่สีทอง คำอ้นฟาร์ม บ้านหนองอีเลิ้ง ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ "การเพิ่มมูลค่าหอยเชอรี่สีทอง ด้านการแปรรูปเป็นอาหาร " โดยมี นางสุวรรณา วรรณศรี นายอำเภอบ้านฝาง เป็นประธาน พร้อมด้วย รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T นายประยุง ยุระรัช นายกเทศบาลตำบลโนนฆ้อง นายมนตรี กูดอั้ว ปลัดเทศบาลตำบลโนนฆ้อง เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง คำอ้นฟาร์ม ผู้นำชุมชนและผู้เข้าร่วมอบรม 60 คน
นางสุวรรณา วรรณศรี นายอำเภอบ้านฝาง |
รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
นายประยุง ยุระรัช นายกเทศบาลตำบลโนนฆ้อง |
นายมนตรี กูดอั้ว ปลัดเทศบาลตำบลโนนฆ้อง เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง คำอ้นฟาร์ม |
สำหรับการอบรมครั้งนี้ รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ได้กล่าวว่า "โครงการ U2T ตำบลโนนฆ้องที่ผ่านมา ได้ทำการส่งเสริมการผลิตและสร้างเครือข่ายหอยเชอรี่สีทอง จนมีเกษตรกรในพื้นที่หลายรายทำงานเป็นและได้ผลผลิตที่ดีมาก พร้อมให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ หรือตรงตามสายพันธุ์และเปลือกสีทองสวยงาม ทางโครงการ U2T จึงมองเห็นว่า ควรมีการเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปเป็นอาหารพร้อมรับประทาน ปัจจุบัน ราคาหอยเชอรี่สีทอง มีราคาในเกณฑ์ดี เกษตรกรพึงพอใจ กล่าวคือ เกษตรกรเครือข่ายจำหน่ายให้ศูนย์รวบรวม ราคา 150 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ศูนย์รวบรวมขายต่อ 200 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาเนื้อต้มสุก 550-600 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเมื่อนำมาแปรรูปเป็นอาหารก็จะเพิ่มมูลค่าสูงมากขึ้น"
ในการอบรมครั้งนี้ได้มีวิทยากรที่เป็นเจ้าของฟาร์มหอยเชอรี่สีทองและคิดค้นสูตรนำมาสอนให้มีการแปรรูปหอยเชอรี่สีทอง และมีเมนูทั้งหมด 6 เมนู ซึ่งได้แก่
1.บาบีคิวหอยเชอรี่สีทอง
2.หอยเชอรี่สีทองซอสเกาหลี
3.ขนมจีบหอยเชอรี่สีทอง
4.ยำนัวหอยเชอรี่สีทอง
5.หอยเชอรี่สีทองลวกจิ้ม
6.หอยเชอรี่สีทองชุบแป้งทอด
สำหรับหอยเชอรี่สีทอง จะมีสีทอง นุ่ม หวาน กรอบ หัวไม่มีเส้นเมา ตาไม่แข็ง สามารถทานได้อย่างสนิทใจ ยิ่งเมื่อนำมาทำเป็นอาหาร ผ่านการทำให้สุกแล้ว ยิ่งทำให้เนื้ออร่อย ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมารับประทานเนื้อหอยเชอรี่สีทองมากขึ้น ขณะเดียวกัน เปลือกของหอยเชอรี่สีทอง ที่บางและมีธาตุแคลเซียมสูง เกษตรกรมักจะบดให้ละเอียดและนำไปใส่ในต้นไม้ผล แปลงพืชผัก แปลงไร่นา นับว่าหอยเชอรี่สีทอง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งตัว และนับว่า โครงการ U2T ได้เข้ามาต่อยอดได้ตรงประเด็นที่ชุมชนต้องการ
การอบรมทำอาหารจากเนื้อหอยเชอรี่สีทอง ครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรก ที่จะจุดประกายการบริโภคหอยเชอรี่สีทองมากขึ้น เป็นการเปิดตลาดให้กับเกษตรกร ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โดย:ศูนย์ข่าวร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน ฮอต นิวส์ ขอนแก่น
ผู้สื่อข่าว:นางสาวชยาภัสร์ แสงมี
เรียบเรียงโดย:นางสาวชยาภัสร์ แสงมี
ศูนย์ประสานงานรับเรื่องแจ้ง ร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานขอความช่วยเหลือ
ยูทูป: ศูนย์ข่าวร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน ฮอต นิวส์ ขอนแก่นเพจ Facebook : ร่วมด้วยช่วยชาวบ้านฮอต นิวส์ ขอนแก่น252/18 หมู่ 13 ถนนเทพารักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นติตต่อลงโฆษณาประชาสัมพันธ์
โทร 063-4715698,062-9055698
“ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน #ร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น