วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

บพท. จับมือกระทรางเกษตรขับเคลื่อนกลไกการเงินกับเศรษฐกิจสีเขียว

 

บพท จับมือกระทรางเกษตรขับเคลื่อนกลไกการเงินกับเศรษฐกิจสีเขียว
     วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 น. ที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น  หน่วยงานบริหารและการจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้ทุนสนับสนุนแก่มูลนิธิ ร่วมพัฒนาชนบทไทย-อาเซียน ดำเนินโครงการวิจัยและมีการจัดฝึกอบรมเรื่อง“กลไกทางการเงินใหม่สู่การพัฒนา เศรษฐกิจสีเขียว” แก่ Young Smart Farmer และวิสาหกิจชุมชน จำนวน 200 คน โดยมี นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดอบรม  พร้อมด้วย รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล หัวหน้าโครงการวิจัย นายณัฐชา ลิขิตกิจวรกุล คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายอภิดิษฐ์ แก้วไกรสร ผู้ช่วยผู้จัดการ ธกส.สาขาเปื่อยน้อย จ.ขอนแก่น  นายวิษณุ ชนไฮ  ผู้ช่วยผู้อำนสวยการภาค 1 1 ธนาคารออมสินภาค 11 นายประสิทธิ์ พันธุ์โบว์ ผู้จัดการสวนผักยายปาว นางนิตยา เหล่าบุรมย์  ผู้จัดการฟาร์ม Mr. Corn ผู้แทนจากธนาคาร หัวหน้าส่วนราชการ Smart Farmer Young Smart Farmer และเกษตรกร ให้การต้อนรับ และเข้าร่วมอบรมครั้งนี้

 นายนราพัฒน์ แก้วทอง
ผู้ช่วยรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  
นายณัฐชา ลิขิตกิจวรกุล 

คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


 รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล
หัวหน้าโครงการวิจัย

นายประสิทธิ์ พันธุ์โบว์

 ผู้จัดการสวนผักยายปาว 


นางนิตยา เหล่าบุรมย์ 
  ผู้จัดการฟาร์ม
Mr. Corn

นายอภิดิษฐ์ แก้วไกรสร
ผู้ช่วยผู้จัดการ ธกส.สาขาเปื่อยน้อย จ.ขอนแก่น  

นายวิษณุ ชนไฮ 
ผู้ช่วยผู้อำนสวยการภาค
1 1 ธนาคารออมสินภาค 11 

































       รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า  ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผู้คนตกงาน จากภาคธุรกิจ รวมทั้งคนที่ต้องการจะทำธุรกิจยังขาดแคลนเงินลงทุน ด้วยการเข้าถึงระบบกลไกทางการเงิน ของสถาบันการเงินยากขึ้นด้วย ภาวะเศรษฐกิจ การตลาด รวมถึงรูปแบบการค้ำประกันที่ยังไม่ดีพอ ซึ่งประเด็น เหล่านี้เป็นโจทย์ที่ต้องตอบต่อสังคมว่าจะมีแนวทางรูปแบบใด ที่จะเชื่อมต่อกลุ่มดังกล่าว เข้ากับระบบกลไกการเงิน ของสถาบันการเงินที่สะดวกและนำไปใช้ได้ผล“ด้วยที่ผ่านมาเกษตรกรหลายท่านยังเข้าไม่ถึง กลไกการเงินของสถาบันการเงิน จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องสร้างกลไกทางการเงินใหม่ ในการที่จะยกระดับ เศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจสีเขียวให้ขยายผลมากขึ้น ซึ่งความสามารถในการเข้าถึงโอกาสทางการเงิน อย่างเหมาะสม จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ และการกระจายความเจริญในระดับพื้นที่ได้ กลไกทางการเงิน เป็นระบบเส้นเลือดที่สำคัญของธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการ รวมถึง Young Smart Farmer มีโอกาส ให้ธุรกิจอยู่รอดได้” การอบรมในวันนี้ มีกลุ่มเป้าหมายคือ Young Smart Farmer และวิสาหกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการ รายย่อย ในจังหวัดขอนแก่น 200 คน โดยได้ร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น เชิญกลุ่มเป้าหมาย ที่มีการทำกิจกรรมต่อเนื่อง มีตลาด ต้องการขยายกิจการหรือธุรกิจและต้องการโอกาสเข้าถึงสถาบันการเงิน โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมาจาก 26 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น รศ.ดร.สุภาภรณ์ พวงชมภู นักวิจัยในโครงการ กล่าวว่า “การจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจด้านระบบกลไกทางการเงินใหม่ ที่คณะวิจัยได้ศึกษาจากการลงพื้นที่และประชุม กับสถาบันการเงินจนได้รูปแบบที่น่าสนใจ อีกอย่างคือ เป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว และ BCG Model ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานเศรษฐกิจสีเขียว” หัวหน้าโครงการวิจัย 
















     รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการวิจัยนี้ได้รับงบประมาณ จากหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่หรือบพท.โดยมีมูลนิธิร่วมพัฒนาชนบทไทย-อาเซียน เป็นหน่วยงานดำเนินการ มีระยะเวลา 12 เดือน ใน 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และชลบุรี ซึ่งขอนแก่นเป็นแห่งแรกและจะทำเป็น “ขอนแก่นโมเดล” ที่จะนำไปปรับใช้กับพื้นที่ต่างๆต่อไป ในการอบรมครั้งนี้ มี Young Smart Farmer ได้นำผลผลิตมาวางแสดงและจัดจำหน่าย 20 ฟาร์ม ซึ่งเป็นการแสดงถึงศักยภาพ ของกลุ่มนี้อีกทางหนึ่ง ทั้งคุณภาพ การผลิตและเครือข่ายการตลาด 
































































































          




ศูนย์ประสานงานรับเรื่องแจ้ง ร้องเรียน ร้องทุกข์ ประสานขอความช่วยเหลือ

ยูทูป: ศูนย์ข่าวร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน ฮอต นิวส์ ขอนแก่น
 เพจ Facebook : ร่วมด้วยช่วยชาวบ้านฮอต นิวส์ ขอนแก่น

252/18 หมู่ 13 ถนนเทพารักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
 ติตต่อลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
โทร  063-4715698,062-9055698

“ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน #ร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น