วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ดำเนินการขับเคลื่อนและส่งเสริม“ การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จากศัตรูไร่นา นำพาสู่สัตว์เศรษฐกิจ ”

       

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ดำเนินการขับเคลื่อนและส่งเสริม“ การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จากศัตรูไร่นา นำพาสู่สัตว์เศรษฐกิจ ” 

                      ศูนย์ข่าวร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน ฮอต นิวส์ ขอนแก่น


         วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ คำอ้นฟาร์ม เพียงพอเพราะพอเพียง โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการขับเคลื่อนและส่งเสริม “ การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง จากศัตรูไร่นา นำพาสู่สัตว์เศรษฐกิจ ” ในพื้นที่ตำบลพร้อมขยายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ด้วยเลี้ยงง่าย รสชาติดี ราคาสูง ตลาดต้องการมาก วางแผนขยายเครือข่าย และจัดเป็นวิสาหกิจชุมชน

        โดย รศ. ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ตำบลโนนฆ้อง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หอยเชอรี่ก่อนชาวนาไม่ชอบด้วยทำลายข้าวในนาโดยเฉพาะในช่วงน้ำหลาก จนผลผลิตลดลง เป็นที่หวาดกลัวของเกษตรกร ซึ่งหอยเชอรี่เริ่มแพร่ระบาดรุนแรงใน ปีพ.ศ. 2531 จากการปล่อยลงสู่ธรรมชาติของผู้เลี้ยงปลา ด้วยการขยายพันธุ์และรวดเร็ว จนเลี้ยงไม่ไหว จึงมีการปล่อยหอยเชอรี่ลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ จนระบาดเข้าไปกัดกินข้าวเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และปี พ.ศ. 2538-2539 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางเป็นเวลานาน ทำให้หอยเชอรี่ระบาด 60 จังหวัดทำลายนาข้าวเสียหาย เป็นศัตรูข้าวอันดับ 1

 รศ. ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล
ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

นายมนตรี กูดอั้ว
เจ้าของฟาร์ม คำอ้นฟาร์ม เพียงพอเพราะพอเพียง






         รศ. ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ สถานการณ์ค่อย ๆ เปลี่ยนไป หลังจากมีการนำมารับประทาน และพบว่าเนื้ออร่อย ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศ ยังระบุว่ามีโปรตีนสูง ต่อมาเกษตรกรเริ่มนำมากินมาเลี้ยง มีการคัดขนาด คัดสายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่มีรสชาติอร่อย เนื้อนุ่ม หวาน หัวไม่แข็งและเปลือกหุ้มตัวหอยมีสีทองจึงถูกขนานนามว่า “ หอยเชอรี่สีทอง" ซึ่งได้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง มีความต้องการสูง ขายได้ทั้งตัว เนื้อ และไข่








        ทางด้าน รศ. ดร. ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการตำบลโนนฆ้องกล่าวว่า “ ทางโครงการ U2T พยายามตอบโจทย์ชุมชนในการเสริมสร้างรายได้ พัฒนาอาชีพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ทักษะชาวบ้าน และการพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง จนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้นระดับหนึ่ง โดยมีการจ้างงานบัณฑิตที่จบการศึกษา และประชาชน มาพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง พร้อมมีงานทำใกล้บ้านของตนเอง"










        “ ผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง ในตำบลโนนฆ้องมีหลายคนที่เลี้ยงในบ่อน้ำ หนองน้ำ และเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ในระบบน้ำวน จากการมาเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน หาดลาดช่วยกัน ค้นหาวิธีการเลี้ยงเหมาะสมร่วมกัน จึงมีกรอบงานที่จะขอจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ผู้เลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง อำเภอบ้านฝางในอนาคตอันใกล้นี้ นำทีมโดยปลัดเทศบาลตำบลโนนฆ้อง พร้อมท่านนายกเทศมนตรี ” รศ. ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล กล่าวปิดท้าย
















โดย:ศูนย์ข่าวร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน ฮอต นิวส์ ขอนแก่น

ผู้สื่อข่าว:นางสาวกฤษฏิญา ก่อวงศ์ นางสาวมาศสุภา ศรีสถาน และนางสาววรรณนิภาศรีวิสุทธิ์

เรียบเรียงโดย:นางสาวกฤษฏิญา ก่อวงศ์

นมคิดดี
นมดีที่คุณแม่รอคอย

สวนสัตว์ขอนแก่น
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


อ.ส.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




“ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน #ร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่


ท่านสามารถติดตามรับฟังการรายงานสถานการณ์ข่าวสารต่างๆได้ ในรายการ

ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน จันทร์-ศุกร์.  เวลา 14.00 -15.00 น 
ที่สถานีวิทยุ smilefm101http://www.smilefm101.com  ความถี่ FM 101 mHz ขอนแก่น
และ Facebook #ร่วมด้วยช่วยชาวบ้านฮอตนิวส์ขอนแก่น


 ติตต่อลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
โทร  063-4715698,062-9055698


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น