การฝึกอบรมกลยุทธ์และเทคโนโลยีหยุดเผาตอซังในนาข้าว โครงการ Chi River No Burn |
วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมตักสิลา อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม องค์กรวินร็อคอินเตอร์แนชั่นแนล ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม จัดฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง “กลยุทธ์และเทคโนโลยีไม่เผาตอซังในนาข้าว” โดยมี นายวิบูลย์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเกษตรกร พร้อมด้วย นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายสมพร นามพิลา เกษตรจังหวัดมหาสารคาม นางสาวจิราภรณ์ โชติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการโครงการเรน รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn และเกษตรกร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมอบรมกว่า 150 คน ทั้งนี้ได้มีการออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร จากกลุ่มเกษตรกรอีกด้วย
นายวิบูลย์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม |
นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม |
นายสมพร นามพิลา เกษตรจังหวัดมหาสารคาม |
นางสาวจิราภรณ์ โชติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการโครงการเรน |
รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn |
โครงการหยุดเผาในพื้นที่ลุ่มน้ำชี (No-Burn Chi River) จะดำเนินงานในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวขนาดใหญ่ ได้แก่ จังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์
และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยจะ ดำเนินกิจกรรมหลัก 4 ด้าน คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ ,การสร้างเครือข่ายเกษตรกร, การสร้างความร่วมมือ
และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
และเกษตรกรที่ผ่านการอบรม จะได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ
ไปขยายผลต่อยังเกษตรกรรายอื่นๆ
ในการที่จะได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการไม่เผา ให้หันไปใช้วิธีการอื่นในการกำจัดตอซังแทน
เช่น การไถกลบ หรือใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายแล้วจึงไถกลบ
ซึ่งโครงการเรนจะสนับสนุนเกษตรกรให้ใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน
เพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว
จะมีการประกวดว่า ชุมชนและหมู่บ้านไหนมีการจัดการแปลงนาโดยไม่เผาตอซังดีเด่น
จังหวัดละ 3 รางวัล รวม 12 รางวัล
ขณะเดียวกันยังได้สนับสนุนการทำแปลงสาธิตไม่เผาตอซังและใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย
จำนวน 40 แปลง ซึ่งทางโครงการจะสนับสนุนจุลินทรีย์และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน
ทั้งค่าไถดะ ไถพรวน จำนวน 40 แปลง เพื่อให้เกษตรปรับเปลี่ยนทัศนคติไม่เผาตอซัง
และหันมาใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายแทน
สำหรับ "องค์กรวินร็อคอินเตอร์แนชั่นแนล เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำโครงการต่างๆทั่วโลกเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ รักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการในประเทศไทย ชื่อว่า โครงการเรน (RAIN: Thailand Regional Agriculture Innovation Network) ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 5 ปี ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ 11 จังหวัดของประเทศไทย โครงการนี้จะได้สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเกษตร โดยจะมีการคัดเลือกเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสู่เกษตรกรในลดรายจ่าย เพิ่มผลผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น